20 ทีมในศึกพรีเมียร์ลีก ออกมาร่วมมือกับทีมต่างๆ รวมทั้งองค์กรฟุตบอลในประเทศอังกฤษในการหยุดกิจกรรมทางโซเชียลมีเดีย เพื่อต่อต้านการเหยียดผิวและเชื้อชาติในช่วงที่ผ่านมา
แถลงการณ์ของพรีเมียร์ ผ่าน www.premierleague.com ระบุว่า 20 สโมสรรวมไปถึงทีมจาก อีเอฟแอล, วีเมน ซูเปอร์ ลีก, วูเมน แชมเปี้ยนชิพ, พีเอฟเอ, แอลเอ็มเอ รวมไปถึงองค์กรต่างๆ ได้ตกลงร่วมมือหยุดกิจกรรมทางโซเชียล มีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก,ทวิตเตอร์ และ อินสตาแกรม ตั้งแต่แต่เวลา 15.00 น. ของวันศุกร์ที่ 30 เมษายน ไปจนถึงเวลา 23.59 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ของวันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม
เหตุผลมาจากทุกองค์กรเห็นชอบในการต่อต้านเหตุการณ์ที่นักเตะหรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฟุตบอลโดนโจมตีทางโลกออนไลน์ ทั้งในเรื่องการเหยียดเชื้อชาติและเหยียดผิวในช่วงที่ผ่านมา
ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการ เพราะก่อนหน้านี้สื่อจากอังกฤษเผยว่าผู้นำของฟุตบอลเมืองผู้ดีได้มีการหารือกับสโมสรและองค์กรต่างๆ เพื่อหาวิธีการตอบโต้พฤติกรรมที่น่ารังเกียจเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาเห็นชอบในการหยุดกิจกรรมบนโซเชียล มีเดีย ช่วงสุดสัปดาห์หน้า
“ฟุตบอลอังกฤษจะไม่ยอมให้มีการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ”
“เรากำลังเรียกร้องให้องค์กรและบุคคลต่างๆในเกมเข้าร่วมกับเราในการคว่ำบาตรแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชั่วคราวเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรวมตัวกันในข้อความ”
“บริษัท โซเชียลมีเดียจำเป็นต้องรับผิดชอบหากพวกเขายังขาดความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคมในการแก้ไขปัญหาเฉพาะถิ่นนี้” เอ็ดลีน จอห์น ผู้อำนวยการด้านความเสมอภาคและความหลากหลายของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ เผย
ขณะที่ ซานเจย์ บานดารี่ ประธาน คิก อิท เอาท์” หรือ องค์กรต่อต้านการเหยียดผิว ก็ได้ให้เหตุผลในการหยุดกิจกรรมทางโซเชียลมีเดีย ตรงนี้ไว้ด้วยเช่นกัน
“การคว่ำบาตรครั้งนี้บ่งบอกถึงความไม่พอใจร่วมกันของพวกเรา”
“เวลานี้โซเชียลมีเดียกลายเป็นท่อลำเลียงสำหรับการใช้สารพิษ”
“การลบตัวเราออกจากแพลตฟอร์มเรากำลังแสดงท่าทางเชิงสัญลักษณ์ต่อผู้ที่มีอำนาจเราต้องการให้คุณลงมือทำเราต้องการให้คุณสร้างการเปลี่ยนแปลง”
“เราต้องการให้ บริษัท โซเชียลมีเดีย ทำให้แพลตฟอร์มของพวกเขาที่เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรสำหรับพวกบรรดาเกรียนแทนที่จะเป็นสำหรับครอบครัวฟุตบอล”
ทั้งนี้องค์กรต่างๆ อยากเห็นผู้ใช้งานมีการปรับปรุงพฤติกรรมส่วนตัวและไม่อยากให้ไปล้ำเส้นบรรดานักเตะหรือคนในวงการด้วยถ้อยคำที่น่ารังเกียจและรุนแรง
นอกจากนั้นรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เข้ามามีบทบาทในการเจรจากับผู้ให้บริการต่างๆ รวมไปถึงเพิ่มระดับการเฝ้าระวังมากขึ้นเพราะเกิดเหตุการณ์แทบจะทุกครั้งหลังงมีเกมการแข่งขัน